Sunday, September 14, 2014

เจาะข่าวเด่น เปิดสัมภาษณ์ สรรพคุณ หญ้าฮี๋ยุ่มหรือหญ้ารีแพร์


หญ้ารีแพร์ เปิดสรรพคุณ หญ้าฮี๋ยุ่ม สมุนไพรไทยคืนความสาว เจาะข่าวเด่น เจาะลึก หญ้าฮี๋ยุ่ม พร้อมกับเรื่องของ ต้นแม่ฮ้างสามสิบสองผัว

            หญ้าฮี๋ยุ่ม หรือ หญ้ารีแพร์ กลายเป็นพืชที่ได้รับความสนใจขึ้นมาอย่างมาก หลังได้มีการนำเสนอในฐานะหญ้าตัวเด่นในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ซึ่งจะจัดขึ้นที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี ในวันที่ 3-7 กันยายน 2557 หญ้าฮี๋ยุ่ม สรรพคุณเป็นอย่างไร วิธีการใช้ต้องทำอย่างไร มาไขความสงสัยไปกับการพูดคุยกับนายแพทย์ธวัชชัย กมลธรรม อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และเภสัชกรหญิงสุภาพร ปิติพร หัวหน้าเภสัชกร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ในรายการเจาะข่าวเด่น ที่ออกอากาศไปเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ที่ผ่านมา

Saturday, September 13, 2014

หญ้าฮี๋ยุ่ม สมุนไพรคืนความสาว



หญ้าฮี๋ยุ่ม หรือ หญ้ารีแพร์
หญ้าฮี๋ยุ่มหรือหญ้ารีแพร์
วันนี้เรามาทำความรู้จักกับหญ้าฮี๋ยุ่ม หรือ หญ้ารีแพร์ (ชื่อนี้ เภสัชกรหญิงสุภาพร ปิติพร ได้ตั้งขึ้นเนื่องจากชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันนั้น เรียกออกสื่อลำบาก) ที่กำลังได้รับความนิยมกันเป็นอย่างมากสำหรับสาวน้อยสาวใหญ่ หลังจากที่นายแพทย์ธวัชชัย กมลธรรม อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และเภสัชกรหญิงสุภาพร ปิติพร หัวหน้าเภสัชกร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ได้เปิดเผยถึงสรรพคุณเป็นพืชสมุนไพรที่ภูมิปัญญาไทยเลือกใช้ในการดูแลหญิงหลังคลอด ด้วยการนำไปอาบ อบ และกิน ช่วยทำให้ผิวพรรณกลับมาเปล่งปลั่ง มดลูกเข้าอู่ และบาดแผลหายเร็วขึ้น

ในทางวิทยาศาสตร์พบว่าหญ้าฮี๋ยุ่ม ซึ่งเป็นพืชตระกูลเดียวกับไผ่ มีสาร "ซิลิกา" (silica) อยู่โดยธรรมชาติ ซึ่งสารตัวนี้เป็นสารต้นกำเนิดของคอลลาเจนและน้ำไขข้อในร่างกาย หากขาดสารนี้จะทำให้มีลักษณะแก่ก่อนวัย ผิวพรรณไม่เปล่งปลั่งเต่งตึง หญิงหลังคลอดที่ต้องการฟื้นตัวได้ไว ภูมิปัญญาชาวบ้านก็ได้นำหญ้าตัวนี้เข้ามาช่วย

สำหรับข้อมูลทั่วไปของหญ้าฮี๋ยุ่ม
ชื่อสมุนไพร: หญ้าฮี๋ยุ่ม
ชื่อพ้อง: หญ้าหมอยแม่หม้าย ขนหมอยแม่ม่าย (สตูล) หญ้าเหล็กไผ่ (สุราษฎร์ธานี) หญ้าอีเหนียว (ชัยนาท) เหนียวหมา (ระนอง) barbed grass 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Centotheca lappacea (L.) Desv.
ชื่อวงศ์: Poaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: เป็นพืชมีอายุหลายปี ลำต้นสูง 50 - 70 เซนติเมตร ใบมีขนาดกว้าง 1.5 - 2.5 เซนติเมตร ยาว 6.5 – 15.0 เซนติเมตร ตามลำต้น กาบใบ และตัวใบจะเห็นเส้นใบลายเป็นทางยาวชัดเจน ใบมีขน ขอบใบเรียบ บางครั้งเป็นคลื่นเล็กๆ ทั้งสองด้าน ลิ้นใบ (ligule) เป็นแผ่นบางๆ สีน้ำตาล (membranous) สูง 2 - 3 มิลลิเมตร ช่อดอกแบบ panicle ยาว 15 - 43 เซนติเมตร ช่อดอกย่อย (spikelets) มี 2 - 3 ดอก ดอกมีสีเขียว ยาวประมาณ 8 มิลลิเมตร ก้านสั้นๆ ที่กาบดอกด้านล่างหรือที่ lemma มีลักษณะคล้ายหนามแหลมเล็ก ๆ จะติดไปกับเสื้อผ้าขณะเดินผ่าน ทำให้แพร่กระจายได้ง่าย ขยายพันธุ์โดยเมล็ดหรือท่อนพันธุ์ สัตว์ชอบกินปานกลาง การเจริญหลังการตัดหรือหลังสัตว์แทะเล็มช้า แต่ทนร่มเงามาก (ข้อมูลจาก nutrition.dld.go.th/.../Centotheca%20%20latifolia.htm)

ข้อมูลการใช้ประโยชน์: มีข้อมูลการใช้ในหมู่เกาะ Rotunma (ซึ่งตั้งอยู่ใกล้บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก) ใช้ใบหญ้าฮี๋ยุ่มในการรักษาโรคติดเชื้อ (McClatchey Will, 1996) นอกจากนี้ถูกระบุว่าใช้เป็นพืชสมุนไพรที่มีชื่อเสียงของแอฟริกา (แต่ไม่ระบุสรรพคุณ) (Whistler WA, 1991) ส่วนในหนังสือชื่อ CRC world dictionary of medicinal and poisonous plants ที่แต่งโดยนาย Umberto Quattrocchi (2012) ได้กล่าวถึงว่าเป็นพืชที่ใช้ในการแพทย์พื้นบ้านในเอเชียโดยใช้วิธีการต้มรักษาภาวะเลือดออกในช่องคลอด (vaginal bleeding)

ข้อมูลเกี่ยวกับการวิจัย: พบว่าหญ้าฮี๋ยุ่มอายุ 45 วัน ประกอบไปด้วยคุณค่าทางอาหาร ดังนี้ โปรตีน 10.1 –18.5 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 0.18 – 0.25 เปอร์เซ็นต์ โพแทสเซียม 1.54 – 2.46 เปอร์เซ็นต์ แคลเซียม 0.33 – 0.84 เปอร์เซ็นต์ ADF 29.8 – 41.3 เปอร์เซ็นต์ NDF 53.9 - 69.7 เปอร์เซ็นต์ DMD 41.7 – 60.3 เปอร์เซ็นต์ (โดยวิธี Nylon bag) ลิกนิน 6.5 - 9.1 เปอร์เซ็นต์ (ข้อมูลจาก nutrition.dld.go.th/.../Centotheca%20%20latifolia.htm)